บทความวิจัย



ความรู้และเจตคติเกี่ยวกับโรค COVID-19 ของผู้มารับบริการทางทันตกรรม ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าจะหลุง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา  Knowledge and Attitude about COVID-19 of Dental Service Recipients in Thachalung Health Promoting Hospital, Chokchai District, Nakhon Ratchasima Province.

สมถวิล บ่ายกระโทก
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขี้ตุ่น อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. โชคชัย. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และเจตคติของผู้มารับบริการทางทันตกรรมเกี่ยวกับโรค COVID-19 ในระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2565 ถึง 10 สิงหาคม 2565 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ ผู้มารับบริการทางทันตกรรมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าจะหลุง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้และเจตคติเรื่องเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงเชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา (Descriptive statistic) ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมาน (Inferential statistic) ได้แก่ Paired t-test สถิติไคสแควร์(E) และสถิติฟิชเชอร์ (Fisher exact test)

ผลการศึกษา พบว่า ความรู้ของผู้มารับบริการทางทันตกรรมเกี่ยวกับติดเชื้อ COVID-19 พบว่า ส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับติดเชื้อ COVID-19 อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.2 ระดับสูง ร้อยละ 37.5 และ ระดับต่ำ ร้อยละ 11.3 เจตคติของผู้มารับบริการทางทันตกรรมเกี่ยวกับ COVID-19 พบว่า มีเจตคติอยู่ในระดับดี ร้อยละ 65.0 และระดับปานกลาง ร้อยละ 35.0 ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้มารับบริการทางทันตกรรมมีความรู้ อยู่ในระดับปานกลางกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยมีโรคประจำตัวส่วนใหญ่จะไม่เสียชีวิต ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอาศัยอยู่บ้านไม่มีโอกาสติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งไม่ถูกต้องบุคลกรสาธารณสุขควรให้ความรู้เพิ่มเติม ผู้ป่วยโรค COVID-19 สามารถอยู่ร่วมบ้านกับสมาชิกในครอบครัวได้ตามปกติทันตบุคลากรควรประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ในการป้องกันตนเองในกรณีของการมารับบริการทางทันตกรรม หรือที่สาธารณะ ส่งเสริมให้คนในครอบครัวช่วยเหลือ ให้กำลังใจ เกิดเจตคติที่ถูกต้องสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม


คำสำคัญ : โรคไวรัสโคโรน่า 2019; พฤติกรรมการป้องกัน COVID-19 ; ทัศนคติสู่การป้องกัน COVID-19 ; ความรู้เกี่ยวกับ COVID-19 ทีมทันตกรรม

The objective of this descriptive study was to evaluate knowledge and attitudes towards COVID-19 prevention behaviors of the coronavirus disease 2019 (COVID-19) epidemic on the number of 80 patients who attending the Department of Dental Service and the total number of patients receiving treatment of Tajulhoong; tambol health promotion hospital, Chokchai, Nakhonratchasima province between May1- August 10 : 2022. Collected data was analyzed by descriptive statistic and Inferential statistic.

The results from this study presenting knowledge about Coronavirus 2019 are intermediate level 51.2%, high level 37.5%, low level 11.3% , good attitude 65% and average attitude 35%. Revealed that dental patients knowledge are average level, confused data about aging and systematic patients not infected or die from Covid-19. From this study dental team should advice and advocate through multimedia to people about right knowledge and attitude with Coronavirus 2019 for safety life.


keywords : Corona Virus Disease 2019; Prevention Behavior from Corona Virus 2019; Attitudes towards Prevention of Coronavirus 2019; Knowledge of Coronavirus 2019; Dental team

อ้างอิง


[1] Latiffah A Latiff, Associate Prof. Dr, Saadat Parhizkar, Dr, Huda Zainuddin, (et.al). Pandemic Influenza A (H1N1) and Its Prevention: A Cross Sectional Study on Patients’ Knowledge, Attitude and Practice among Patients Attending Primary Health Care Clinic in Kuala Lumpur, Malaysia. Global Journal of Health Science 2012; 4(2): 95 – 102.

[2] Zhonggen Sun, Bingqing Yang, Ruilian Zhang, (et.al). Influencing Factors of Understanding COVID-19 Risks and Coping Behaviors among the Elderly Population. International Journal of Environmental Research and Public Health 2020; 17(16): 5889.

[3] วัชรพล วิวรรศน์เถาว์พัธ์. จอนสัน พิมพิสาร. พนิดา ฤทธิรณ. รุ่งนิดา รอดวินิจ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการทันตกรรมของวัยทำงานในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 ในเขตเทศบาลตำบลโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารทันตาภิบาล 2565; 33(1): 57 – 75.

[4] Cohen, J., & Cohen, P. Applied Multiple Regression/Correlation Analysis for the Behavioral Sciences. Hillsdale, NJ: Erlbaum; 1983.

[5] Bloom, B.S., et al. A Taxonomy of Educational Objectives: Handbook I The Cognitive Domain. Longman, Green Co., New York; 1956.

[6] Mohammed K Al-Hanawi , Khadijah Angawi , Noor Alshareef . (et.al). Knowledge, Attitude and Practice Toward COVID-19 Among the Public in the Kingdom of Saudi Arabia: A Cross-Sectional Study. Frontiers in Public Health 2020; 27(8) : 217.

[7] กรมควบคุมโรค. แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด 19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ 9 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viral pneumonia/file/int_ protection/int _protection_030164.pdf.

[8] ดรัญชนก พันธ์สุมา. พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. โรงเรียนสุรวิวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย. สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.[ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://thaidj.org/index.php/smnj /article/view/11003/9598

[9] กชมัง สมมัง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ของผู้รับบริการงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี. วารสารสาธารณสุขศาตร์ 2557; 37: 8 – 21.

[10] สัญญา สุปัญญาบุตร. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิด A (2009 H1N1) ของประชาชน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2554; 18(2) : 1 – 11.

ดาวน์โหลด