บทความวิจัย



การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา  Development of Nursing Practice Guidelines for Patients with Sepsis at Lam Thamenchai Hospital, Nakhon Ratchasima Province

ผกามาศ อินทกุล และ จิณัฐตา มะลาม
    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา . เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โดยใช้ แบบบันทึกสัญญาณเตือนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลลำทะเมนชัย โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลตามกระบวนการใช้ผลการวิจัย (research utilization) ของ Iowa Model เป็นแนวทางในการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ประกอบด้วย (1) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และแผนกผู้ป่วยใน จำนวน 25 คน (2) ผู้ป่วยรับใหม่ที่แพทย์วินิจฉัยว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลลำทะเมนชัย จำนวน 77 ราย เก็บข้อมูลตั้งแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้แบบบันทึกสัญญาณเตือนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด แบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพ ตรวจสอบเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน มีค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.76 และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของ Cronbach เท่ากับ 0.95 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งการสัมภาษณ์ความคิดเห็นพยาบาลกลุ่มตัวอย่างภายหลังการใช้เครื่องมือ

ผลการวิจัย พบว่า (1) ได้แนวปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้แบบบันทึกสัญญาณเตือนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของโรงพยาบาล ลำทะเมนชัย (2) ผลลัพธ์ของการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้พบว่าผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน และเสียชีวิต (3) ผลลัพธ์ด้านความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.85 S.D. = 0.79) สรุปผลการวิจัยได้ว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลลำทะเมนชัย สามารถประเมินและให้การพยาบาลได้เหมาะสมส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที ลดภาวะเสี่ยงต่อความรุนแรง และอัตราการตายได้


คำสำคัญ : ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด; แบบบันทึกสัญญาณเตือน; แนวปฏิบัติการพยาบาล

This action research was conducted to develop nursing practice guideline for patients with sepsis. The warning signs were recorded in patients with sepsis at Lam Thamenchai Hospital. By applying the conceptual framework for developing nursing practice guideline based on the research utilization process of the IOWA Model as a guideline for development. The purposive sampling consisted of (1) registered nurses working in the emergency department and inpatient department, totaling 25 persons, (2) 77 newly admitted patients diagnosed with sepsis at Lam Thamenchai Hospital, collected data from December 1, 2022 to March 31, 2023. Registered nurse opinion questionnaire was reviewed by experts. It has a content accuracy of 0.76 and Cronbach alpha coefficient of 0.95, and analyzes the data with descriptive statistics. They consist of frequency, percentage, mean, standard deviation, as well as interviews with sample nurses after the use of the tool.

The results of this study indicated that (1) The nursing practice guidelines for patients with sepsis at Lam Tamenchai Hospital were successfully delivered (2) The results of the implementation of nursing practice guidelines showed that patients had no complications and died (3) the results of registered nurse opinions on the overall nursing practice guidelines were very high. = 3.85 SD. = 0.79. It could be concluded that nursing practice guideline for sepsis that implemented in Lam Thamenchai Hospital can assess and provide appropriate nursing care, resulting in patients receiving timely medical care. It also can reduce the risk of violence and mortality.


keywords : Sepsis; Modified Early Warning Score; Nursing Practice Guideline

อ้างอิง


[1] World Health Organization. Key facts of sepsis. [online]. (2020). [cited 26 August 2020]. Available from https://www.Who .int/news-room/fact-sheets/detail/sepsis

[2] กระทรวงสาธารณสุข. อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice. moph.go.th /hdc/main/index.php

[3] ลำทะเมนชัย. ข้อมูลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด. นครราชสีมา :โรงพยาบาล; 2564.

[4] Titler, M.G. and other. The Iowa Model of Evidence-Based Practice to Promote Quality Care. Critical Care Nursing Clinic of North America 2001; 13(4) : 497 – 509.

[5] วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ. การนำผลการวิจัยไปใช้ทางการพยาบาล: การจัด การกับความปวด (Pain Management).วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2554; 17(1): 93 - 100.

[6] Ngammuk, Kanokpan; Trongtrakul, Konlawij and Jirathananuwat, Areeya. การพัฒนา สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม. Vajira Medical Journal: Journal of Urban Medicine 2020; 64(6) : 389 – 96.

[7] ดาวเรือง บุญจันทร์ และเปรมฤทัย น้อยหมื่นไทย. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบบันทึกสัญญาณเตือนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด. พุทธชินราชเวชสาร 2557; 31(3): 385 – 95.

[8] มัณทนา จิระกังวาน, ชลิดา จันเทพา และเพ็ญนภา บุบผา. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง (Severe sepsis) ในโรงพยาบาลศรีษะเกษ. วารสารกองการพยาบาล 2558; 42(3) : 9 – 33.

[9] พัชนีภรณ์ สุรนาทชยานันท์, วนิดา เคนทองดี และสุพัตรา กมลรัตน์. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในโรงพยาบาลเลย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561; 36(1): 207 – 15.

[10] Nueng Nasuwan W, Normkusol J, Thongjam R, Panaput T. Development of Nursing Service System for Patients with Severe Sepsis. Journal of Nursing and Health Care 2014; 32(2): 25 – 36.

[11] ประไพพรรณ ฉายรัตน์ และสุพัฒศิริ ทศพรพิทักษ์กุล. ประสิทธิผลของรูปแบบ การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560; 35(3) : 224 – 31

[12] นนทรัตน์ จำเริญวงศ์, สุพรรณิการ์ ปิยะรักษ์ และชยธิดา ไชยวงษ์. การประเมินและ การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้2020; 7(1) : 319 – 330.

[13] Zavatti, L. and others. Modified Early Warning Score and identification of patients with severe sepsis.Critical Care, National Library of Medicine 2010; 14(S1) : P254.

[14] Subbe, C.P. and others. Validation of a modified Early Warning Score in medical admissions Quarterly.National Library of Medicine 2001; 94(10) : 521 – 26.

[15] ภัทรศร นพฤทธิ์, แสงไทย ไตรยวงค์ และ จรินทร โคตรพรม. การพัฒนารูปแบบ การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลมุกดาหาร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562; 37(1) : 221 – 30.

[16] จริยา พันธุ์วิทยากูล และจิราพร มณีพราย. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารกองการพยาบาล 2561; 45(1) : 86 – 104.

ดาวน์โหลด