บทความวิจัย



โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 4 อ.(อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ อากาศ) ในผู้สูงอายุในเขตตำบลหนองน้ำแดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา  The Effects of Using Health Behavior Changing Program (Food, Excercise, Emotion and Air) among Elderly at Nongnumdang Sub-district, PakChong district , NaKhon Ratchasima province

จิตรเพชร ทะยอมโคกกรวด
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองน้ำแดง. ปากช่อง. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 4 อ.(อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ อากาศ) ในผู้สูงอายุในเขตตำบลหนองน้ำแดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยการประยุกต์แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับ 4 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ อากาศ) การรับรู้ประโยชน์ 4 อ. การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติ 4 อ. และ เปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติ 4 อ. ของผู้สูงอายุกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ก่อนและหลัง การทดลอง โดยมีรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาแบบวัดผลก่อนและหลังการทดลอง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์ 2566-พฤษภาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบโดยใช้สถิติทดสอบ paired samples t- test และ t- test

ผลการวิจัย พบว่า (1) ด้านความรู้เกี่ยวกับ 4 อ.โดยภาพรวมก่อนและหลังการทดลอง มีความรู้เกี่ยวกับ 4 อ. ระดับดี แสดงว่าการให้ความรู้ตามหลัก 4 อ ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความรู้เพิ่มขึ้น (2) ด้านการรับรู้ประโยชน์เกี่ยวกับ 4 อ. พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มทดลองโดยภาพรวม ก่อนและหลังการทดลองมีการรับรู้ประโยชน์ 4 อ. ระดับดีมาก (3) ด้านการรับรู้อุปสรรค 4 อ.พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มทดลอง โดยภาพรวมก่อนและหลังการทดลอง มีการรับรู้อุปสรรค 4 อ.ระดับดีมาก, การรับรู้ความสามารถ 4 อ. ผู้สูงอายุกลุ่มทดลองโดยภาพรวม ก่อนและหลังการทดลอง มีการรับรู้ความสามารถ 4 อ. ระดับดีมาก, การปฏิบัติ 4 อ.ผู้สูงอายุกลุ่มทดลองโดยภาพรวมก่อนและหลังการทดลอง มีการปฏิบัติ 4 อ.ระดับดีมาก ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนสุขภาพตามแนวทาง 4 อ. ส่งผลให้ผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมสุขภาพ โดยได้รับความรู้ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเข้าร่วมกิจกรรมการสาธิตอาหาร ออกกำลังกาย และฝึก การหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้สูงอายุมีความมั่นใจที่จะปฏิบัติ 4 อ. อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนการเยี่ยมให้กำลังใจจาก อสม.และบุตรหลาน เพื่อให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรม 4 อ.อย่างยั่งยืน สามารถ นำผลการวิจัยไปวางแผนเพื่อส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มประชาชนในพื้นที่ต่อไป


คำสำคัญ : โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 4 อ.(อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ อากาศ); ผู้สูงอายุ; การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพนเดอร์

The purpose of this research was to study the effects of the health behavior modification program according to the 4 principle approach (food, exercise, emotion air) among the elderly in Nong Nam Daeng Subdistrict, Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province by applying Pender concept of health promotion with a specific objective to compare knowledge about the 4 principle (food, exercise, emotions, weather), benefit perception, 4 principle, perceived obstacles. Self-efficacy in performing 4 principle and comparing the behaviors of performing 4 principle of the elderly in the experimental and comparison group before and after the experiment The research model was a quasi-experimental research. A pre- and post-experimental study was conducted by collecting information between February 2023-May 2023 Data were analyzed using mean (mean), standard deviation (SD) and compared using paired samples t-test and t-test. The results of the research revealed that (1) the knowledge about 4 principle before and after the experiment. had knowledge about 4 principle at a good level, indicating that educating according to the 4 principle resulted in increasing knowledge of the elderly; overview before and after the experiment (3) in terms of perceived barriers at 4 4 principle found that the elderly in the experimental group before and after the experiment. The perceived obstacles were 4 principle very good level, Efficacy perception 4 principle. The elderly in the experimental group before and after the experiment cognitive ability 4 principle very good level, practice 4 principle.The elderly in the experimental group before and after the experiment, practice 4 principle very good level. Effects of health modification programs according to the 4 principle, the elderly in the experimental group had healthy behaviors by gaining knowledge join to exchange experiences and participated in food demonstrations exercises, and effective breathing exercises. This gives the elderly the confidence to continue to practice 4 principle volunteer and children in order for the elderly to have sustainable 4 principle behaviors, the results of the research can be used to plan for health promotion among people in the area.

keywords : Behavioral Modification Program for Health According to the 4 Principal (Food, Exercise, Emotions, Air; the Elderly; Pender Behavior Modification

อ้างอิง


[1] เกื้อ วงศ์บุญสิน และคณะ. โครงการศึกษาวิจัยเพี่อสร้างนวตกรรมใหม่: (การพัฒนาประชากรวัยเรียนและวัยแรงงานทั้งในและนอกระบบเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผุ้สูงอายุของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.

[2] กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย. [ออนไลน์]. (2553). [เข้าถึง เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก https:// www.dop.go.th/th/know/side/1/2/55.

[3] สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. สร้างเสริมสุขภาพใจผู้สูงวัยเป็นสุข. [ออนไลน์]. (2551). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.dop. go.th/th/know/side/1/2/55.

[4] เล็ก สมบัติ. โครงการภาวการณ์ดูแลผู้สูงอายุของครอบครัวในปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ ก๊อปปี้; 2549.

[5] พิสมัย จันทวิมล วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ และหทัย ชิตานนท์. นิยามศัพท์ส่งเสริมสุขภาพ. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2540.

[6] สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2552 กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2553.

[7] อาภาพร เผ่าวัฒนา สุรินธร กลัมพากร สุนีย์ ละกำปั้น และคณะ. การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน : การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556.

[8] จารี ศรีปาน. พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร.

เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี; 2554.

[9] จิณห์วรา อินนาจิตร และคณะ. พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลตลาดอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. [การศึกษาค้นคว้าอิสระ สาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต (สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์)]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา; 2557.

ดาวน์โหลด