บทความวิจัย



ผลลัพธ์ระบบบริการพยาบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลางแบบผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา  The Outcomes of The nursing service system for Intermediate care inpatient of community hospitals, Nakhon Ratchasima Province

ณัฐนิชา ศฐานันทิพัฒน์
    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


ระบบบริการพยาบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลางที่เหมาะสมจะช่วยลดอัตราความพิการของผู้ป่วยและสามารถกลับสู่สังคมได้อย่างมีคุณภาพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การบริการพยาบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลางแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บศีรษะ และผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลชุมชนระดับ M, F ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565 จำนวน 300 คน คัดเลือกโดยใช้ตารางเลขสุ่มเรียงลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินสำหรับการจัดบริการบริบาลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกลางแบบผู้ป่วยใน ประเมินการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยระยะกลาง งานบริการพยาบาลผู้ป่วยใน และประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิค่าความสอดคล้องเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.90 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบาคเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ pair t-test

ผลการวิจัย พบว่า การจัดระบบการบริการพยาบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง แบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลชุมชน 31 แห่ง ส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์ 8 ข้อ พิจารณาเกณฑ์รายข้อ ส่วนใหญ่ยังขาดบุคลากรเฉพาะทางที่ควรมีนักกิจกรรมบำบัด นักฝึกอาชีพ และผลการปฏิบัติกิจกรรมตามกระบวนการพยาบาลผู้ป่วยระยะกลาง งานพยาบาลผู้ป่วยใน ภาพรวมคะแนนเฉลี่ย 28.72 คะแนน ร้อยละ 99.03 ระดับความสามารถในการดูแลตนเองทั้งหมดของผู้ป่วยระยะกลาง เมื่อติดตามจนครบ 6 เดือน คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากแรกรับ 41.48 ร้อยละ 9.0 เป็นคะแนนเฉลี่ย 70.48 ร้อยละ 19.7 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการพยาบาลกับความสามารถในการดูแลตนเองในแต่ละระยะ คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)


คำสำคัญ : การบริการพยาบาลแบบผู้ป่วยใน; ผู้ป่วยระยะกลาง; การฟื้นฟูสภาพ

The appropriate intermediated healthcare rehabilitation system can reduce disability rates among patients and facilitate their high-quality reintegration into society. This research was conducted as a retrospective cohort study with the objective of examining the outcomes of intermediate nursing services for inpatients at a community hospital in Nakhon Ratchasima province. The sample included the medical records department, patients with cerebrovascular disease, patients with spinal cord injuries, patients with head injuries and patients with fractured hips. The sample group consisted of 300 individuals admitted as inpatients at a community hospital at the intermediate healthcare level, from October 1, 2021, to September 30, 2022.and participants were selected using a random number table. Data were collected from February to April 2023. The research tools employed were an assessment form for organizing intermediate inpatient nursing service care, an evaluation of nursing activities for intermediate patient care and an evaluation of Barthel activity of daily living Index. The content validity was examined by a qualified expert, yielding a content congruence value of 0.90 and a Cronbach alpha reliability coefficient of 0.88. Data analysis was performed using descriptive statistic and pair t-test

The research findings revealed that none of the 31 community hospitals met all the criteria for organizing intermediate inpatient rehabilitation services. Upon examining the specific criteria, it was observed that there was still lacking of specialized personnel, such as rehabilitation therapists and vocational trainers. Additionally, the implementation of activities based on the intermediated patient care process was inadequate. Overall, the average score for inpatient nursing services was 28.72 out of 30, corresponding to a percentage of 99.03, while the overall self-care abilities of intermediate-term patients increased significantly from average scores 41.48 percentage of 9.0 to verage scores 70.48 percentage of 31.7 after a 6-month follow-up period. There was a statistically significant increase (p < 0.05) in the average scores when comparing nursing intervention scores with self-care abilities at each stage.


keywords : Inpatient Nursing Services; Intermediate-care Patients; Rehabilitation

อ้างอิง


[1] สถาบันประสาท. แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมอง clinical Practice Guidelines for stroke Rehabilitation. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3). นนทบุรี: ธนาเพรส จำกัด; 2559.

[2] กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลสถิติการป่วยและเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของประเทศไทย. (ออนไลน์). [2563]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก http://thaincd.com/document /file/download/knowledge/

[3] กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดบริการพยาบาลผู้ป่วยระยะกลาง. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด; 2562.

[4] สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย. (2562). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2562. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก http:// www.otp.go.th/uploads/tinyuploads/PDF /2563-06/25630601adAccidentAna2562 _Final.pdf

[5] National Spinal Cord Injury Statistic Center. (2017). Spinal cord injury facts and figures at a glance . [Online]. (2017). [cited 1 september, 2022]. Retrieved from: https: //www. nscisc.uab.edu/

[6] สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลคนพิการบาดเจ็บไขสันหลังสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง อัมพาตแขนและขา (เตตราพลีเจีย). นนทบุรี: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด; 2561.

[7] ประเสริฐ หลิ่วผลวณิชย์ เจริญชัย พากเพียรไพโรจน์ และสมศักดิ์ ลีเชวงวงศ์. บูรณาการในการป้องกัน และรักษากระดูกหักซ้ำซ้อนจากโรคกระดูกพรุน. วารสารกรมการแพทย์ 2558; 40(4): 16 – 9.

[8] สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย : การประเมินผลระบบการให้บริการการดูแลระยะกลาง (Intermediate Care). นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

[9] สำนักการพยาบาล. การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.

[10] นงณภัทร รุ่งเนย ธัญพร ชื่นกลิ่น นภัส แก้ววิเชียร เบญจพร สุธรรมชัย วิชาญ เกิดวิชัย และศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. ความสำเร็จของการดำเนินงานการดูแลสุขภาพระยะกลางตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข 2564; 15(1): 81 – 101.

[11] ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย, วาริสา ทรัพย์ประดิษฐ์ และนำพร สามิภักดิ์. การประเมินผลระบบการให้บริการการดูแลระยะกลาง (intermediate care). สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.) สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

[12] นภัส แก้ววิเชียร และคณะ. นโยบายการดูแลสุขภาพระยะกลางในประเทศไทย: ข้อเสนอเพื่อหนทางข้างหน้า. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30(5): 894 – 906.

[13] จามจุรีย์ เลิศจันทร์ และมาลัยวรรณ ทิพย์ปิ่นวงค์. การพัฒนาระบบบริการบริบาลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกลางเป็นกระบวนการสำคัญในการดูแลผู้ป่วยที่ผ่านพ้นระยะวิกฤติ. หน่วยบริหารจัดการและส่งมอบผลลัพธ์ (ODU) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่:

สยามพิมพ์นานา จำกัด; 2564.

[14] รัชนี ทองเสภี. ผลลัพธ์การฟื้นฟูสมรรถภาพระยะกลางของผู้ป่วยในโรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2563; 4(1): 1-10.

[15] วีระศักดิ์ รัตนชัยฤทธิ์ รุจิรา จันทร์หอม และเสฐียรพงษ์ ศิวินา. การพัฒนารูปแบบ การบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care : IMC) จากโรงพยาบาลสู่ชุมชนเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562; 15(2): 119 – 32.

ดาวน์โหลด