บทความวิจัย



การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชมรมผู้สูงอายุ ตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา  Development of guidelines to promote the quality of life of the senior citizens club, Na Klang Subdistrict, Sung Noen District, Nakhon Ratchasima Province

มาลินี ฝ่ายเคนา
    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชมรมผู้สูงอายุ การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชมรมผู้สูงอายุ และประเมินผลแนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชมรมผู้สูงอายุ ตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) ผู้สูงอายุ จำนวน 165 คน (2) บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 3 คน และ(3) ผู้เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ จำนวน 4 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกและจัดกลุ่มข้อมูล

ผลการวิจัย พบว่า (1) ชมรมผู้สูงอายุ ตำบล นากลาง อำเภอสูงเนิน ได้มีการประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในระดับพื้นที่ โดยดำเนินการตามแผนร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ได้รับรางวัลชมรมผู้สูงอายุดีเด่นระดับจังหวัด และระดับเขต (2) การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชมรมผู้สูงอายุ สามารถดำเนินการได้ตามลักษณะคุณภาพชีวิตที่ดี ประกอบด้วย ด้านร่างกาย โดยร่างกายต้องแข็งแรงตามช่วงวัย ด้านจิตใจ ต้องสบายใจมีความสุข ด้านสังคม ต้องอยู่กับชุมชนที่ดี ดูแลกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และด้านสภาพแวดล้อม ต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่แออัด โดยมีการดำเนินงานตามกระบวนการวงจร PDCA ได้แก่ การวางแผน ดำเนินการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ประมวลผลข้อค้นพบ ปรับปรุงข้อค้นพบ (3) ประเมินผลแนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชมรมผู้สูงอายุ ภายใต้ NAKLANG model สามารถใช้งานได้จริง มีความเหมาะสม สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับตำบลที่มีบริบทใกล้เคียงได้ ข้อเสนอแนะ คือ ควรเพิ่มเติมความรู้การส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง


คำสำคัญ : การส่งเสริมคุณภาพชีวิต; ผู้สูงอายุ; ชมรมผู้สูงอายุ; การประเมินผล

This is action research. The objectives were to study the situation of quality of life promotion, develop guidelines for the promotion of quality of life, and evaluate the guidelines for the promotion of quality of life in the senior citizens club in Na Klang Subdistrict, Sung Noen District, Nakhon Ratchasima Province. The samples were divided into 3 groups: (1) 165 elderly people; (2) 3 registered nurses; and (3) 4 elderly people. The research instruments consisted of document analysis, questionnaires, in-depth interviews, and focus group discussion, as well as quantitative data analysis with descriptive statistics, including frequency, percentage, mean, and standard deviation. The qualitative data section analyzed the data by classifying and grouping them.

The results showed that (1) the senior citizens club, Na Klang Subdistrict, Sung Noen District, had clearly written an announcement of the appointment of the senior citizens club network committee. To promote the health care of the elderly at the local level by implementing a joint action plan with all relevant sectors. Resulting in receiving outstanding senior citizen club awards at provincial and zone levels. (2) The development of a guideline for promoting the quality of life of the senior citizens club can be carried out according to the characteristics of a good quality of life, consisting of the physical aspect, where the body must be healthy according to age; mentally, it must be comfortable and happy; and socially, one must live in a good community, take care of each other, be generous, and respect the environment. Must be in a good environment, not crowded, with implementation of the PDCA cycle process, including planning, conducting relevant literature studies, processing findings, and improving the findings. (3) Evaluate the guidelines to promote the quality of life of the senior citizens club under the NAKLANG model for practicality, appropriateness, and whether they can be applied to nearby districts. The suggestion is that knowledge should be added to promote the quality of life of the senior citizens club continuously.


keywords : Quality of Life Promotion; The Elderly; Senior Citizens Club; Evaluation.

อ้างอิง


[1] สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ 4 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http:// www.Stopcorruption.moph.go.th/ application/editors/userfiles/files/(ร่าง)%20

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ%20ฉบับที่%2013.pdf

[2] Cowgill, D. O. Aging around the world, Belmont, CA: Wadsworth; 1986.

[3] มาร์เก็ตเธียร์. สถิติผู้สูงอายุไทย ปี 65 จำนวนผู้สูงวัยเพิ่มต่อเนื่อง แต่อัตราการเกิดต่ำ. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ 14 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://marketeeronline .co/archives/272771

[4] กระทรวงสาธารณสุข. คุณภาพชีวิต. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข; 2535.

[5] Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. Evaluation Theory, Models & Applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass, 2007.

[6] Yamane, T. Statistic: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row; 1973.

[7] รณกร เส็งสอน. พฤติกรรมการใช้เวลาว่างและสุขภาวะของผู้สูงอายุในจังหวัดนครนายก. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการกีฬาและนันทนาการ]. นครนายก : มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ; 2563.

[8] กรมสุขภาพจิต. แบบคัดกรองทางสุขภาพจิต: เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย. โปรแกรมสำเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่ปี พ.ศ.2545. เชียงใหม่; 2545.

[9] นัสมล บุตรวิเศษ และอุปริฏฐา อินทรสาด. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รายงานการวิจัย. มหา วิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา; 2564.

ดาวน์โหลด