บทความวิจัย



ผลการใช้แนวปฏิบัติการจัดการความปวดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วไปแบบใส่ท่อช่วยหายใจ ในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลโชคชัย  Effects of Postoperative Pain Management Guidelines in Patients undergoing abdominal Surgery Receiving Intubated General Anesthesia in the Recovery Room Chokchai Hospital

จิตติมา ตรีเหลา
    ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลโชคชัย. โชคชัย. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยแบบปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวปฏิบัติการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น เพื่อประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น โดยประเมินระดับความปวดหลังผ่าตัด ประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยและวิสัญญีพยาบาล ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดช่องท้อง ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2565 ถึง วันที 15 สิงหาคม 2565 และ วิสัญญีพยาบาล ประจำโรงพยาบาลโชคชัย จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่เครื่องมือชุดที่ 1 แบบบันทึกวิจัยเรื่องผลการใช้แนวปฏิบัติการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของผู้มารับบริการผ่าตัด ข้อมูลเกี่ยวกับความปวด ข้อมูลความพึงพอใจของผู้ป่วยเครื่องมือชุดที่ 2 แบบสอบถามความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติ ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปสำหรับสอบถามวิสัญญีพยาบาล การประเมินความพึงพอใจของวิสัญญีพยาบาลต่อแนวปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพรรณนา ได้แก่จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่าส่วนใหญ่ผู้ป่วย ไม่มีประสบการณ์การได้รับผ่าตัด ไม่มีประสบการณ์ความปวดในอดีต ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดน้อยกว่า 60 นาที ความยาวของแผล มากกว่า10เซนติเมตร ระดับความปวดเมื่อมาถึงห้องพักฟื้นมากกว่า 7 ระดับความปวดก่อนออกจากห้องพักฟื้น น้อยกว่า 5 ข้อมูล การจัดการความปวด ได้รับยาแก้ปวดน้อยกว่า 2 ครั้ง ผู้ป่วยและวิสัญญีพยาบาล พึงพอใจต่อการใช้แนวทางปฏิบัติอยู่ในระดับ พึงพอใจมาก ข้อเสนอแนะควรนำแนวปฏิบัติไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ไปประยุกต์ใช้กับการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดกลุ่มอื่นและศึกษาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง


คำสำคัญ : แนวปฏิบัติการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น; ความปวดหลังผ่าตัด

Action research the objective was to create a guideline for postoperative pain management in the recovery room. To assess the use of postoperative pain management guidelines in the recovery room by assessing the level of pain after surgery Evaluate the satisfaction of patients and nurse anesthetists. Nurses The study population was patients undergoing abdominal surgery from 15 June 2022 to 15 August 2022 and nurse anesthetist Chokchai Hospital, 3 people. The tools used in this study were Tool 1, a research record form on the use of guidelines for postoperative pain management in the recovery room. Contains general information of patients receiving surgery services information about pain patient satisfaction data. The second tool, the satisfaction questionnaire on the practice, consisted of general information for asking nurse anesthetists. Assessment of nurse anesthetist satisfaction with the practice guidelines. Data were analyzed using descriptive statistics including number, percentage, mean and standard deviation.

The results of the research revealed that most of the patients No surgical experience .No past pain experience The time required for surgery is less than 60 minutes, the length of the surgical wound more than 10 cm pain level upon arrival to the recovery room greater than 7 pain level before leaving the recovery room less than 5 pain management data less than 2 doses of pain medication. Patients and nurse anesthetists were satisfied with the use of the guidelines at a high level of satisfaction. Recommendations should be applied to the practice guidelines for the care of patients after surgery. be applied to the care of other groups of postoperative patients and to continuously study the outcomes.


keywords : Postoperative pain management Guidelines in the Recovery Room.; Pain after Surgery

อ้างอิง


[1] Miller, K.m. & Perry, P.A.. Relaxation technique and post-operative pain in patients under going cardiac surgery. Heart & Lung 1990; 19(2) : 136 – 46.

[2] Smeltzer, S.C. and Bare, B.C. Brunner and suddarth textbook of medical surgical nursing (9th ed). Philadelphia: Lippincott; 2000.

[3] พงศ์ภารดี เจาฑะเกษตริน. ความเจ็บปวดชนิดเฉียบพลัน ในวรภาสุวรรณจินดา และอังกาบประการรัตน์. ตำราวิสัญญีวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ยูนิตี้พับพิชั่น; 2534.

[4] ฟองคำ ดิลกสกุลชัย. การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์หลัก การและวิธีปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: พรีวัน; 2549.

[5] นิโรบล กนกสุนทรรัตน์. การรับรู้ความเจ็บปวดและวิธีบรรเทาความเจ็บปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลศาสตร์], บัณฑิต. นครปฐม : วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2535.

[6] ประคอง กรรณสูตร. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.

[7] Timmon, M.L. & Bower, F.L. The effect of structured preoperative teaching on patients use of patient-controller analgesic (PCA) their management of pain. Orthopedic Nursing 1993; 12(1): 23 – 31.

[8] อุราวดี เจริญไชย. ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับวิธีการ ความรู้สึกและคำแนะนำสิ่งที่ควรปฏิบัติต่อความวิตกกังวล ความเจ็บปวด และความทุกข์ทนมานในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่]. ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2541.

[9] Avis, M., Bond, M., & Arthur. Satisfying solution? A review of some unresolved issues in the measurement of patient. Journal of Advanced Nursing; 1995.

[10] Mayulee Somranyart et al. Effectiveness of music on pain experience: A systematicreview. Thai Journal nursing research 2007; 11(1) :15 – 25.

ดาวน์โหลด