บทความวิจัย



สถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหารเขตบริการสุขภาพที่ 9 (นครชัยบุรินทร์)  Food Safety Situation, Health Service Region 9 (Nakhon Chai Burin)

ธมณ วัชรเมธาพงษ์
    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยในครั้งนี้เป็นการเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหาร โดยเก็บตัวอย่าง จำนวน 11,185 ตัวอย่าง ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา (32 อำเภอ)บุรีรัมย์ (23 อำเภอ) สุรินทร์ (17 อำเภอ) และชัยภูมิ (16 อำเภอ) แต่ละอำเภอเลือกแบบเจาะจงเก็บในตลาดสด ตลาดนัด ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าชุมชน โรงพยาบาล โรงเรียน เรือนจำ ตรวจด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น คือ ชุดทดสอบด้านเคมียาฆ่าแมลงตกค้างจีที และทีเอ็ม 2 , บอแรกซ์, ฟอร์มาลิน, กันรา, ฟอกขาว, โพลาร์, เร่งเนื้อแดง, ค่าความกระด้างของน้ำ ด้านจุลินทรีย์ SI-2 และ Coliforms วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ

ผลการวิจัย พบว่า ตรวจทั้งหมด 11,185 ตัวอย่าง ตกมาตรฐานร้อยละ 6.07 แบ่งเป็นทางด้านเคมีจำนวน 10,582 ตัวอย่าง ตกมาตรฐานร้อยละ 4.73 และทางด้านจุลินทรีย์ จำนวน 602 ตัวอย่าง ตกมาตรฐานร้อยละ 29.73 แยกตามสถานที่ได้ดังนี้ ตกมาตรฐานมากที่สุดในน้ำหยอดเหรียญ ร้อยละ 12.17 รองลงมาเรือนจำ ร้อยละ 6.19 ตลาดสด ร้อยละ 5.80 ร้านค้าชุมชน ร้อยละ 4.75 ตลาดนัด ร้อยละ 3.72 โรงพยาบาล ร้อยละ 1.87 ร้านอาหาร ร้อยละ 1.82 น้อยที่สุดคือซุปเปอร์มาเก็ต ร้อยละ 0.48 เมื่อแยก รายสารพบสารไอโอดีนตกมาตรฐานมากที่สุด ร้อยละ 33.59 ในเกลือบริโภค ตราดอกบัว ตรามังกร รองลงมา พบปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำ ร้อยละ 25.59, พบ สารโพลาร์ร้อยละ 13.78 ในน้ำมันทอดลูกชิ้น/ไก่ /หมู, พบฟอร์มาลีน ร้อยละ 11.64 ใน ปลาหมึกกรอบ สไบนาง, พบค่าความเป็นกรด-ด่าง ร้อยละ5.13 และ ค่าความกระด้างของน้ำ ร้อยละ 2.05 ในตู้น้ำดื่มอัตโนมัติ, พบสารกันรา ร้อยละ 3.17 ในมะม่วงดอง องุ่นดอง, พบบอแรกซ์ ร้อยละ 1.52 ในลูกชิ้นหมู/เนื้อ, พบยาฆ่าแมลง ร้อยละ 1.30 ใน พริกสด กะหล่ำปลี, พบสารเร่งเนื้อแดง ร้อยละ 0.77 ในเนื้อหมู , พบ สารฟอกขาว ร้อยละ 0.20 ในสไบนาง ถั่วงอก ข้อเสนอแนะ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดควรเพิ่มความถี่ในการตรวจโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์หรือแหล่งที่มักพบปัญหาพร้อมติดตามแก้ไขปัญหา บูรณาการร่วมกับคณะกรรมการอาหารและปลอดภัยจังหวัด เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและผู้บริโภค ให้เกิดความตระหนักในความปลอดภัยด้านอาหาร


คำสำคัญ : อาหารปลอดภัย; สถานการณ์

This descriptive research aims to monitor the food safety situation. A total of 11,185 samples were collected in 4 provinces: Nakhon Ratchasima (32 districts), Buriram (23 districts), Surin (17 districts) and Chaiyaphum (16 districts) each district selects a specific type to be collected in fresh markets, flea markets, supermarkets, community stores, hospitals, schools, prisons and examined with a preliminary test kit. is a chemistry test kit Pesticides/Residues GT and TM2, Borax, Formalin, Fungus, Bleach, Polar, Red meat accelerator, Water hardness Microbial SI-2 and Coliforms data were analyzed using percentage values.

The results showed that a total of 11,185 samples failed at 6.07%, divided into 10,582 chemical samples 4.73% failed, and 602 microbial samples 29.73% failed, separated by locations as follows: Falling the most standard in coin-operated water 12.17 %, followed by prisons 6.19 %, fresh markets5.80 %, community shops 4.75 %, flea markets 3.72 %, hospitals 1.87 %, restaurants 1.82 % the least is a hundred supermarkets 0.48 each. When separating the substances, Iodine was found. The highest level of 33.59% was found in edible salt, Lotus Brand, Dragon Brand, followed by 25.59% of dissolved solids 13.78% of polar compounds in meatball/chicken/pork frying oil, and formalin was found 11.64% in Crispy Squid Sabai Nang found 5.13% pH and 2.05% water hardness in automatic drinking water dispensers found 3.17% mold preventative in pickled mangoes and pickled grapes found borax % 1.52 in pork/beef meatballs, found1.30 percent of pesticides in fresh chili, cabbage, Red meat accelerator was found in 0.77% of pork, and bleach was found in 0.20% of Sabai Nang and bean sprouts. Integrate with the Provincial Food and Safety Committee to develop the potential of entrepreneurs and consumers to raise awareness of food safety.


keywords : Food Safety; Situation

อ้างอิง


[1] Pidgunpai K, Keithmaleesatti S, Siriwong W. Knowledge, attitude and practice associated withcholinesteraselevel in blood among rice farmers in Chainart Province, Thailand. J. Health Sci 2014; 28(2): 93 – 99.

[2] Mohiuddin, H., Siddiqi, R., & Aijaz, P. Pesticide poisoning in Pakistan: The need for public healthreforms. BMCPublic Health 2016; 185.

[3] กันทิมา ลีจันทึก. ไทยนำเข้าสารพิษเกษตรอันดับ 5 ของโลก.[ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaihealth.or.th/ 22316. html.

[4] หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. ทั่วโลกป่วยจากอาหารปนเปื้อนปีละ 600 ล้านคน. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: www. dailynews .co.th/foreign/364911.

[5] Zota, A. R. a. g. e., Phillips, C. A., & Mitro, S. D. Recent Fast Food Consumption and Bisphenol A and Phthalates Exposures among the U.S. Population in NHANES, 2003-2010. Environmental Health Perspectives 2010; 124(10) : 1521 – 28.

[6] สุวิมล ฉัตรานุกูล. ปัจจัยการรับรู้และการปฏิบัติด้านการป้องกันการปนเปื้อนสารเคมีในอาหารสดของประชาชน ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2560.

[7] สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. การระบาดของเชื้อ อีโคไล ในประเทศสหรัฐอเมริกา. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2564]. ข้าถึงได้จาก www.honestdocs.co/e coli-outbreaks.

[8] สารานุกรมเสรี. เรื่องอื้อฉาวนมในจีน พ.ศ.2551. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/.

[9] ข่าวไทยพีบีเอส. อาหารกลางวันปนเปื้อนในอินเดีย. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://news.thaipbs.or.th/content/184887

[10] หน่วยเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร. สถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ณ สถานที่จำหน่าย (กรุงเทพมหานคร) ปี 2560. นนทบุรี : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2560.

[11] หน่วยเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร. รายงานสถานการณ์ความปลอดภัยของอาหาร ส่วนภูมิภาค ปีงบประมาณ พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565.

[12] กนกพร ธัญมณีสิน. ศึกษาระบาดวิทยาของการปนเปื้อนฟอร์มาลินในอาหารสดในบางจังหวัด ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารเภสัชกรรมไทย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2557; 7(1) : 31 – 37.

[13] กัญนิกา พีระธรรมและคณะ. ความรู้และพฤติกรรมในการเลือกซื้ออาหารที่เสี่ยงต่อสาร เจือปนของผู้บริโภคในเขตพื้นที่บ้านลาด ตำบลพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.

[14] Pang-Hung Yiu, Jian See, Amartalingam Rajan and Choon-Fah J.Bong. Boric Acid Levels in Fresh Noodles and Fish Ball. Malaysia; 2008.

ดาวน์โหลด