บทความวิจัย



การประเมินผลการวิเคราะห์ข้อผิดพลาดรายงานการเงินของโรงพยาบาลในสังกัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา ประจำปีงบประมาณ 2564  The Evaluation of the Results of Financial Reporting Error Analysis in Hospitals under the Phang-Nga Public Health Provincial Office, Fiscal Year 2021

สุชาดา บุญรักษ์
    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา. เมืองพังงา. พังงา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


การศึกษาเพื่อประเมินข้อผิดพลาดรายงานการเงินของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา ประจำปีงบประมาณ 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อผิดพลาดรายงานทางการเงินให้รายงานทางการเงินของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงามีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ เป็นปัจจุบัน รูปแบบการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวาง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional descriptive study) นำข้อมูลรายงานทางการเงินจากโปรแกรมรายงานการเงิน มาสร้างแบบสอบทานและสังเกตแบบกึ่งโครงสร้างตามหลักการบัญชี นโยบาย แนวทางการบันทึกบัญชีของหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ผู้ศึกษาได้พัฒนาขึ้น แบ่งเป็น 4 ประเด็น นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาเรียบเรียงเป็นข้อความโดยสรุปรวมส่วนที่เหมือนหรือสอดคล้องกันเป็นหมวดหมู่ เรียงเป็นลำดับเชิงพรรณนา และโปรแกรม Microsoft Excel เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการประเมินข้อผิดพลาดรายงานทางการเงินเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพ

ผลการศึกษาความถูกต้อง ครบถ้วน ตามนโยบาย แนวทางการบันทึกบัญชีของหน่วยบริการสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จากกลุ่มตัวอย่างของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา จำนวน 9 แห่ง โดยคิดเป็นร้อยละจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 9 แห่ง พบว่า การจัดทำรายงานการเงินของโรงพยาบาลถูกต้องจากการศึกษาและสอบทานข้อผิดพลาด 4 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 ความถูกต้องตามสมการบัญชี และดุลบัญชี คิดเป็นร้อยละ 100 ประเด็นที่ 2 ความสัมพันธ์ของรายการบัญชี คิดเป็นร้อยละ 48 ประเด็นที่ 3 ความผิดปกติของยอดเงินคงเหลือในงบแสดงฐานะการเงิน (บริหาร) คิดเป็นร้อยละ 71 ประเด็นที่ 4 ความผิดปกติของยอดเงินคงเหลือในงบแสดงผลการดำเนินงาน (บริหาร) คิดเป็น ร้อยละ 74 นำร้อยละทั้ง 4 ประเด็นมาเฉลี่ย ผลเป็นร้อยละ 73


คำสำคัญ : การตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อผิดพลาดรายงานการเงิน; การประเมินผล

The study for assessing financial reporting errors in hospitals under the Phang Nga Provincial Public Health Office in fiscal year 2021 aims to explore the errors of financial reporting in order to determine the financial reporting of hospitals under the Phang Nga Provincial Public Health Office to be accurate, reliable and timely. The study design was a cross-sectional descriptive study that used financial report data from the financial reporting program to create a reviewed form and semi-structured observations based on accounting principles, policies and guidelines for accounting of healthcare service units under the Permanent Secretary Office, Ministry of Public Health (MoPH) that the researcher has developed, there is divided into 4 issues. The data were compiled into a summary text, combining identical or coherent sections into categories. The Microsoft Excel was used as a tool facilitating the evaluation of the financial reporting errors to improve the efficiency.

The results of the study of accuracy and completeness in accordance with the policy and accounting guidelines of the healthcare service units under the Permanent Secretary Office, MoPH, according to the sample of 9 hospitals under the Phang Nga Provincial Public Health Office, interpreted as percentage of the samples, it was found that the accurate financial reporting of hospitals from the review and examination by 4 issues; the accuracy of accounting equations and account balance, accounting for 100%; the relationship among accounting transactions, accounting for 48%; the irregularities of balances in financial statements (management), accounting for 7%; the irregularities in balances in performance statements (management), accounting for 74%. The average percentage of 4 issues was 73%.


keywords : Auditing and Assessing Financial Reporting Errors; Evaluation.

อ้างอิง


[1] กระทรวงการคลัง. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://audit. obec.go.th/index.php/prb-2561

[2] กรมบัญชีกลาง. มาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ พ.ศ.2561. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://saraban-law.cgd.go.th/

[3] กลุ่มประกันสุขภาพ. สถานะทางการเงินหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: บริษัท ดี.เอ.พริ้นติ้ง จำกัด; 2553.

[4] กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ. คู่มือบัญชี หน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข: นนทุบรี: บริษัท ดี.เอ.พริ้นติ้ง จำกัด; 2561.

[5] สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานของคณะกรรมการพิจารณาปัญหาสถานะทางการเงินและปรับปรุงระบบการเงินและการบัญชีของหน่วยบริการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข: นนทบุรี: บริษัท ดี.เอ.พริ้นติ้ง จำกัด; 2559.

[6] กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2562. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://bps.moph.go.th/new_bps

[7] กรมบัญชีกลาง. แนวทางการตรวจสอบบัญชีของส่วนราชการในระบบ GFMIS. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https:// saraban-law.cgd.go.th/

[8] พรทิพย์ สมวัน. การประเมินผลการตรวจสอบงบการเงินโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 10. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2564] เข้าถึงได้จาก https://healthregion10.moph.go.th/ docspublish

ดาวน์โหลด