บทความวิจัย



ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุ ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา  Factors Associated with Active Aging among the Elderly in Sikhio Hospital, Sikhio District, Nakhon Ratchasima Province

นภาวรรณ หล่มเพชร
    โรงพยาบาลสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. สีคิ้ว. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


พฤฒิพลังเป็นศักยภาพของบุคคลที่จะเป็นผู้สูงอายุในอนาคตที่มีสุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว รู้วิธีจัดการกับชีวิตให้มีความสุข มีความสามารถ การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อให้ตนเองมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักยภาพ การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัย เชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุ ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลสีคิ้ว อำเภอ สีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลสีคิ้ว จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ค่าความสอดคล้องเชิงเนื้อหา (IOC) เท่ากับ 0.82 และตรวจสอบความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.702 การเก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 ถึงเดือนเมษายน 2565 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานได้แก่ ไคสแควร์

ผลการวิจัยพบว่า ระดับภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุ ในภาพรวม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคะแนนค่อนข้างมาก ร้อยละ 55.5 รองลงมา ระดับมาก ร้อยละ 36.0 ( =14.24, SD=2.58) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านร่างกายอยู่ในระดับคะแนนค่อนข้างน้อย ด้านจิตใจอยู่ในระดับมาก ด้านสติปัญญาอยู่ในระดับมาก ด้านสังคมและการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ด้านความมั่นคงอยู่ในระดับค่อนข้างมาก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ รายได้ ลักษณะครอบครัว ศาสนา ระดับการศึกษา ภาวะพึ่งพิง โรคประจำตัว ส่วนปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุ ได้แก่ เพศ ควรมีการเสริมสร้างพัฒนาภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีร่างกายแข็งแรง มีความสุขในการดำเนินชีวิตและมีคุณภาพชีวิตที่ดี


คำสำคัญ : พฤฒิพลัง; ผู้สูงอายุ; ปัจจัยด้านสุขภาพ; การมีส่วนร่วม; ความมั่นคง

Active aging is the potential of a person to become a healthy elderly person in the future, live a long life, and know how to manage a happy life with desirable attributes of life. This research is cross-sectional analytical research with the purpose of studying the factors associated with active aging among the elderly in Sikhio Hospital, Sikhio District, Nakhon Ratchasima Province. The 400 sample group were elderly in the area under responsibility of Sikhio Hospital. Collected from March 2022 to April 2022. Research instrument was a questionnaire with factors associated with the active aging of the elderly. Content validity of this instruments was 0.82 and reliability of Cronbach’s Alpha coefficient was 0.702. The data analysis used descriptive statistics and chi-square.

The results showed that the level of active aging among the elderly as a whole was at a relatively high score level of 55.5%, followed by a high level of 36.0% (X ̅=14.24, SD=2.58). Most of the individual factors found that the physical aspect was at a relatively low score level. The mental aspect, intellectually, social and participation at a high level, and the security aspect was at a quite high level. Moreover, factors that relationship with the active aging of the elderly are statistically significant, including age, marital status, occupation, income, family characteristics, religion, educational level, dependency, and medical problems. Meanwhile, the irrelevant factor related to active aging was gender. The findings show that the active aging development of the elderly should be strengthened, especially in health, so that the elderly are physically fit, enjoy a healthy lifestyle, and have a good quality of life.


keywords : Active Aging; Elderly; Health Factors; Participation; Stability

อ้างอิง


[1] กิตติ ลาภสมบัติศิริ และนางวิมล บ้านพวน. (บรรณาธิการ). รายงานประจำปี 2563 สำนักอนามัยผู้สูงอายุ. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2563

[2] กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 20 ปี ประจำปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: สามลัดดา; 2560.

[3] ปณิธี บราวน์. พฤฒพลัง: บทบาทของกลุ่มผู้สูงอายุและ “ทุน” ที่ใช้ในการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2557; 30(3) : 97 – 120.

[4] สุภจักษ์ แสงประจักษ์สกุล. วุฒิวัยของผู้สูงอายุไทย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2557; 17: 231 – 48.

[5] World Health Organization. Active ageing: A policy framework. Geneva: World Health Organization; 2002.

[6] พินิจ ฟ้าอำนวยผล. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาเครื่องมือประเมินภาวะ Active ageing สำหรับผู้สูงอายุไทย. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ; 2563.

[7] สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ดัชนีพฤฒพลังผู้สูงอายุไทย. สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น จํากัด; 2560.

[8] ฐาณญา สมภู่. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมภาวะพฤฒิพลังของชมรมผู้สูงอายุไทย. [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2560.

[9] สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมสุขภาพ; 2546.

[10] สุภจักษ์ แสงประจักษ์สกุล. ปัจจัยกำหนดระดับวุฒิวัยของผู้สูงอายุไทย. วารสารสงขลานครินทร์ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2558; 21(1): 139 – 67.

[11] กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVIC-19) 2562. [ออนไลน์]. (2563). [สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก http://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php.

[12] มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย(ด้านสุขภาพ). มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพมหานคร; 2558.

[13] วิภานันท์ ม่วงสกุล. การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง ด้วยแนวคิดพฤฒพลัง. วารสารวิจัยสังคม 2558; 38(2): 93 – 112.

ดาวน์โหลด