บทความวิจัย



ประสิทธิผลของการพัฒนาระบบการให้บริการ การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง จังหวัดนครราชสีมา  The Effectiveness of Service System Development on the Intermediate Care Patient, Nakhon Ratchasima Province.

วรางคณาง ลิ้มสุวรรณเกษม
    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อศึกษาสถานการณ์ และ ศักยภาพโรงพยาบาลและบุคลากร ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพผู้ป่วยระยะกลางในจังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 ถึง สิงหาคม 2565 โดยใช้กระบวนการวิจัย 3 กระบวนการหลัก ได้แก่ การสำรวจ การพัฒนา และ การประเมินผล กลุ่มเป้าหมายและเครื่องมือถูกกำหนดขึ้น ภายใต้กระบวนการวิจัยในแต่ละระยะ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 32 แห่ง พยาบาลวิชาชีพ และนักกายภาพบำบัด ผู้ป่วย และญาติผู้ป่วย เครื่องมือทุกประเภทผ่านการพัฒนาคุณภาพ ได้แก่ แนวคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม แบบประเมินศักยภาพหน่วยบริการ แบบประเมินศักยภาพผู้ปฏิบัติงาน แบบบันทึกการลงเยี่ยมติดตามดูแลผู้ป่วยในชุมชน และ แบบประเมินความพึงพอใจในการได้รับการดูแลสำหรับผู้ป่วยและญาติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ สถิติเชิงวิเคราะห์

ผลการวิจัย พบว่า การให้บริการการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยโรงพยาบาลแม่ข่ายและเครือข่ายที่มีศักยภาพไม่เป็นไปตามเกณฑ์การบริบาลฟื้นสภาพระยะกลาง พยาบาลวิชาชีพ และนักกายภาพบำบัด ผู้ที่มีความรู้ และด้านทักษะไม่เป็นไปตามเกณฑ์ จำเป็นต้องได้รับการพัฒนา ทั้งนี้ การวิจัยครั้งนี้ได้พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง ภายใต้ตัวแบบ “KORAT TELE 3C Model” ซึ่งผลการนำตัวแบบนี้ไปใช้ พบว่า โรงพยาบาลแม่ข่ายและเครือข่ายที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์การบริบาลฟื้นสภาพระยะกลางทั้ง 13 แห่ง มีศักยภาพในการให้บริการเพิ่มขึ้น พยาบาลวิชาชีพและนักกายภาพบำบัด มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติเพิ่มขึ้นเช่นกัน รวมถึงผู้ป่วยได้รับการลงเยี่ยมติดตามตามเกณฑ์เพิ่มขึ้น ญาติผู้ดูแลมีความพึงพอใจในการให้บริการ ทั้งนี้ ในการวิจัยครั้งต่อไปจำเป็นต้องมีการพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้ระบบการแพทย์ทางไกลผ่าน สำหรับการให้คำปรึกษา ติดตามผลการดูแล ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการให้บริการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง โดยการพัฒนาระบบ Tele consult เพื่อการดูแลผู้ป่วยระยะกลางจังหวัดนครราชสีมา ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


คำสำคัญ : ประสิทธิผล; การพัฒนา; ระบบการให้บริการ; การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง; KORAT TELE 3C

This research is research and development, to study the situation and potential of hospitals and health professional officer, who are the providers for intermediate care patient (IMC) in Nakhon Ratchasima Province, which had operated from December 2021 to August 2022. The three key processes such as survey; development; and evaluation were conducted. The targets and tools had been established under the keys research process in each phase as 32 hospitals under the Nakhon Ratchasima Provincial Public Health Office; professional nurses; physical therapists; patients; and their relatives or care giver. Any tools had been approved on the quality such as: in-depth interview questions and group discussions; service unit potential assessment form; health professional officer capacity assessment form; community care visit record form; and care satisfaction assessment form for patients and their relatives. The descriptive, and analytical statistic were used to data analysis.

The results showed that IMC patients had been cared on systematic operation. Moreover, Node of hospital and sub-node, professional nurse (PN), and physical therapist (PT) were not standardizing in potential, knowledge, and practice of IMC, had been adjusted to development. Thus, this research has developed IMC guideline under “KORAT TELE 3C Model”, which results indicated 13 nodes and sub-nodes, where were not potential of standard, had been promoted to more. Include, PN, and PT, who had been more improved in better knowledge and practice as well. Moreover, IMC patient had been higher visited, and monitored on standard. Their relatives just satisfied in care service also. However, in the next research is necessary to develop a model for the application of the telemedicine system through for consulting, follow up care, which is directly affected to the provision of care services. As Tele consult system will be developed for the care of IMC patients in Nakhon Ratchasima Province to be more efficient.


keywords : Effectiveness; Service System; Development; Intermediate Care Patient; KORAT TELE 3C

อ้างอิง


[1] สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.). การประเมินผลระบบการให้บริการการดูแลระยะกลาง (intermediate care). สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.) สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหวางประเทศ (IHPP). สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กระทรวงสาธารณสุข; มปป.

[2] กระทรวงสาธารณสุข. แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565; 2564.

[3] บุษรินทร์ พูนนอก. รายงานการศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (intermediate Care) เขตสุขภาพที่ 9. [ออนไลน์]. (2563). เข้าถึงได้จาก: http://203.157.71.139/group_sr/allfile/ 1599635216.pdf

[4] กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. รูปแบบการดูแลสุขภาพระยะกลางของผู้สูงอายุในประเทศไทย. [ออนไลน์]. (2562). เข้าถึงได้จาก: http://training.dms.moph. go.th/rtdc//storage/app/uploads/public/5d2 /541/bd6/5d2541bd6b48d807388472.pdf.

[5] Winstein, C.J., et al., Guidelines for Adult Stroke Rehabilitation and Recovery: A Guideline for Healthcare Professionals from the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke 2016; 47(6): 98 – 169.

[6] Teasell, R., et al., Evidence-Based Review of Stroke Rehabilitation: The Elements of Stroke

Rehabilitation; 2018.

[7] กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดบริการพยาบาลผู้ป่วยระยะกลาง. นนทบุรี; 2562.

[8] แพทยสภา. แนวทางปฏิบัติการแพทย์ทางไกลหรือโทรเวช (telemedicine) และคลินิกออนไลน์. [ออนไลน์]. (2563). เข้าถึงได้จาก: https://tmc.or.th/index.php/News/News-andActivities/Telemedicine

[9] กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการให้บริการของสถานพยาบาลโดยใช้ระบบบริการการแพทย์ทางไกล พ.ศ. 2564; 2564.

[10] รัชวรรณ สุขเสถียร, การเข้าถึงบริการเวชกรรมฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันแบบผู้ป่วยใน ณ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและผลลัพธ์ JThai Rehabil Med 2014; 24(2): 37 – 43.

[11] ปิยนุช ศรีสุคนธ์ ศิรประภา บุญมี และ ธัญพร ชื่นกลิ่น. การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพระยะกลางของจังหวัดเพชรบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5 2565; 41(2) เมษายน-มิถุนายน : 179 – 92.

[12] พิชามญชุ์ สุวรรณฉัตร ภัทรัตน์ ปานสุวรรณจิตร์ และ วิชุดา จิรพรเจริญ. ผลลัพธ์ของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยระยะกลางในการเพิ่มความสามารถการดำเนินกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง และผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะในโรงพยาบาลสารภีบวรพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2564; 17(2) กรกฎาคม – ธันวาคม 2564: 78 – 90.

[13] รัชนี ทองเสภี. ผลลัพธ์การฟื้นฟูสมรรถภาพระยะกลางของผู้ป่วยในโรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2563; 4(1) กรกฎาคม-ธันวาคม : 1 – 10.

ดาวน์โหลด