บทความวิจัย



ผลของโปรแกรมส่งเสริมการใช้ยาอย่างเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา  Rational Drug Use Promotion Program Effects among Hypertensive, Prathai Dristrict, Nakhon Ratchasima Province

ปวีณ ธำรงประดิษฐ์* ลัดดาวัลย์ ฤทธิ์ไธสง** และอมรา จันทรารักษ์***
    โรงพยาบาลประทาย. ประทาย. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการใช้ยาอย่างเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 - 60 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 90 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมส่งเสริมการใช้ยาอย่างเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pair- Samples T-Test และ Independent-Samples T - Test

ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและการใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความสามารถตนเองในการใช้ยาโรคความดันโลหิตสูงอย่างเหมาะสม ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการใช้ยาโรคความดันโลหิตสูงอย่างเหมาะสม และพฤติกรรมการใช้ยาโรคความดันโลหิตสูงอย่างเหมาะสม สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)


คำสำคัญ : โรคความดันโลหิตสูง; โปรแกรมส่งเสริมการใช้ยาอย่างเหมาะสม

The objective of this quasi-experimental study was to study rational drug use promotion program effects among hypertensive in Prathai dristrict, Nakhon Ratchasima province. The theory of self-efficacy was applied. The samples consisted of 90 people aged between 40 years to 60 years with hypertensive disease both male and female. The samples was divided into experimental group and control group, each of which contained 45 persons. The experimental tool was the rational drug use promotion program. The data collection tool was a questionnaire. Data was analyzed by using frequency, percentage, maximum, minimum, mean, standard deviation, pair samples t-test and independent samples t-test.

Results of the study showed that the experimental group had mean scores on knowledge about hypertensive disease and medicine use, self-efficacy perception on rational drug use for hypertensive therapy, expectancy for outcome of rational drug use for hypertensive therapy, and behavior on rational drug use for hypertensive therapy after experiment higher than before experiment and higher than the control group with statistical significance (p<.05)


keywords : Hypertensive; Rational Drug use Promotion Program

อ้างอิง


[1] สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558; 7: 20 – 32.

[2] อัญชลี ศิริพัทยาคุณกิจ. แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และหัวใจขาดเลือด. กรุงเทพฯ : บริษัทประชาชน จำกัด; 2548.

[4] วิทยา ศรีดามา. ตำราอายุรศาสตร์ 4. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.

[3] Freis, E. Overview of Hypertension treatment in the elderly. Cardiology in the elderly: Freeman and Company; 1993.

[5] อุทัยวรรณ วิสุทธากุล. ลดความดันโลหิตสูงอย่างได้ผล. กรุงเทพฯ: รีดเดอร์ส ไดเจสท์; 2549.

[6] พรพนิต ปวงนิยม. ผลของรูปแบบการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพใน กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง อำเภอเมือง จังหวัดตราด. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน]. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา; 2552.

[7] Kaplan, N. M. & Flynn J. T. Kaplan Clinical Hypertension. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2006

[8] รุ่งนภา อาระหง. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมารป้องกันโรคความดันโลหิตสูงที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัคริสเตียน: นครปฐม; 2560.

[9] Miller, C. A. Nursing Care of older adults. Philadelphia: Lippincott Williams & Wikins; 1999.

[10] พชรณัฐฏ์ ชยณัฐพงศ์. ปัญหาด้านยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรังระหว่างการเยี่ยมบ้านโดยเภสัชกร ในทีมหมอครอบครัวของเครือข่ายสุขภาพพรหมคีรี. วารสารเภสัชกรรมไทย 2560; 9: 103 – 09.

[11] Bandura, A. Self-efficacy the exercise of control. New York : W.H. Freeman and Company; 1997.

[12] วรารัตน์ เหล่านภากุล. เหตุผลในการขาดการรักษาและการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ขาดการรักษาจากโรงพยาบาลโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. วิยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร

มหาบัณฑิ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.

[13] ธิดา นิงสานนท์ จตุพร ทองอิ่ม และปรีชา มนทกานติกุล. คู่มือเภสัชกรครอบครัวและการเยี่ยมบ้าน. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: บริษัทประชาชน จำกัด; 2556.

[14] โรงพยาบาลประทาย. รายงานประจำปีงบประมาณ นครราชสีมา. โรงพยาบาลประทาย 2564; 2: 6 – 8.

[15] Polit, D.F., & Beck, T.B. Nursing research.Principles and methods. Philadelphia: Lippincott Williams and Wilkins; 2004

[16] Bloom, S. B. Toxonomy of education objective handbook l cognitive domain. New York: David Mckay; 1975.

[17] Best, J. W. Research in education. Eaglewood Cliff: Prentice Hall; 1977.

[18] กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงโดย ประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่บัณฑิตวิทยาลัย . มหาวิยาลัยบูรพา; 2549.

[19] ทรัพย์ทรวง จอมพงษ์. ผลการส่งเสริมสมรรถนะในตนเองต่อพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์ พย.ม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2545

[20] ธิดา กิจจาชายชัยกุล. วิทยา ศรีดามา. ตำราอายุรศาสตร์ 4. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหิดล; 2542.

[21] สุทธิดา นิรพิฆน์. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุในโรงพยาบาลศิริราช. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกสุขศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2543

ดาวน์โหลด